แรกเริ่มเดิมทีนั้น การทำร่มกระดาษสาของตำบลต้นเปา สันนิษฐานว่ามีมานานเกือบ 200-300 ปีล่วงมาแล้ว ตอนนั้นตำบลต้นเปามี 6 หมู่บ้าน มีพ่อขุนเปาเปรมประชาเป็นกำนัน มีหมื่นปลุกประชาเป็นผู้ใหญ่บ้าน และทิศทางใต้ของถนนสายเชียงใหม่-สันกำแพง ได้นำเอาร่มกระดาษจากจากเมืองเชียงตุงและเมืองมะละแหม่งของพม่า ซึ่งเป็นบรรพบุรุษดั้งเดิม เพราะตอนก่อนหน้านั้นพม่าครองเมืองเชียงใหม่เป็นเวลา 250 กว่าปี ผู้คนในอำเภอเมือง อำเภอสันกำแพงและใกล้เคียงจึงเป็นเชื้อสายของพวกเงี้ยว พวกม่าน ผสมอยู่
การทำร่มนั้นถือเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นดั้งเดิมของชาวตำบลต้นเปามาก่อน พ่อขุนเปาเปรมประชา ได้จัดสรรปันส่วนหมู่บ้านทั้ง 6 เป็นสาขาร่วมทำร่มมีดังนี้
- บ้านบวกเป็ด(บ้านของพ่อขุนเปา)ทำโครงร่มจากไม้ไผ่
- บ้านสันพระเจ้างาม ทำโครงร่ม กลึงหัวร่ม
- บ้านต้นเปา ทำกระดาษสา
- บ้านสันมะฮกฟ้า สันป่าค่า ทำโครงร่ม ทำกระดาษสา
- บ้านหนองโค้ง บ้านบ่อสร้าง ทำตัวร่มสำเร็จรูปพร้อมขาย และได้ทำร่มกระดาษสา ขนาด 12” 16” 18” 20” ส่งขายจนเป็นที่ขนานนามว่า ร่มบ่อสร้าง โดยมีบ้านหนองโค้งร่วมทำด้วย

บ้านหนองโค้งไม่ได้ประกาศนามเหมือนบ้านบ่อสร้าง ประมาณ 60 ปีมาแล้ว พ่อวงศืกาวิอิ่น เป็นผู้เริ่มผลิตร่มสืบทอดมาจากภูมิปัญญาของบรรพบุรุษ ซึ่งพ่อวงศ์เป็นช่างที่ทำร่มผีมือดีของตำบลต้นเปา ได้คิดริเริ่มทำร่มหลวงขนาดใหญ่จากเดิมเป็นกรดาษสาพัฒนามาจนเป็นผ้าขนาด35” 40” ถึง100” โดยทำแบบอุตสาหกรรมในครัวเรือน ถ่ายทอดภูมิปัญญานี้ให้แก่ลูก-หลานทุกคนซึ่งมี นางเตียมต๋า คำฝั้น,นายต๋าคำ กาวิอิ่น,นางอัมพร สุขจินดา,นายวัชรพล กาวิอิ่น,นางสายทอง กาวิอิ่น,นายผล กาวิอิ่น และนางแรมใจ แสงคำ และยังถ่ายทอดให้หมู่บ้านในตำบลต้นเปาในอีกหลายๆหมู่บ้าน จนปัจจุบันนี้ทุกคนทำร่มหลวงทุกครัวเรือนในหมู่บ้านหนองโค้ง ส่งจำหน่ายไปทั่วประเทศและทั่วโลก เป็นที่เลื่องลือมีชื่อเสียงไปทั่ว โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่บ้าน นาย วิฑรูย์ นางแรมใจ แสงคำ ได้ผลิตร่มหลวงร่วมกับบิดาญาติพี่น้องดังกล่าวนามมา ทุกคนจนถึงปัจจุบัน